ประเทศไทยมีมรดกโลกอยู่ทั้งหมด 5 แห่ง ดังนี้
1. เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร
ชื่ออังกฤษ : Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns
ประเภท : มรดกโลกทางวัฒนธรรม
ปีที่ขึ้นทะเบียน : พ.ศ. 2534
พื้นที่ครอบคลุม : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
แหล่งมรดกโลก อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
2. นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร
ชื่ออังกฤษ : Historic City of Ayutthaya
ประเภท : มรดกโลกทางวัฒนธรรม
ปีที่ขึ้นทะเบียน : พ.ศ. 2534
พื้นที่ครอบคลุม : อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เขตวังโบราณและวัดต่างๆในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ เช่น วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดใหญ่ชัยมงคล วัดไชยวัฒนาราม วัดพุทไธศวรรย์ และวัดพระราม เป็นต้น
แหล่งมรดกโลก อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยาและเมืองบริวาร
3. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง
ชื่ออังกฤษ : Thungyai-Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuaries
ประเภท : มรดกโลกทางธรรมชาติ
ปีที่ขึ้นทะเบียน : พ.ศ. 2534
พื้นที่ครอบคลุม : เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
แหล่งมรดกโลก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร
4. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
ชื่ออังกฤษ : Ban Chiang Archaeological Site
ประเภท : มรดกโลกทางวัฒนธรรม
ปีที่ขึ้นทะเบียน : พ.ศ. 2535
พื้นที่ครอบคลุม : แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
มรดกโลก แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
5. ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
ชื่ออังกฤษ : Dong Phayayen-Khao Yai Forest Complex
ประเภท : มรดกโลกทางธรรมชาติ
ปีที่ขึ้นทะเบียน : พ.ศ. 2548
พื้นที่ครอบคลุม : อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงรัก
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มรดกโลกทางธรรมชาติของไทย
หลักเกณฑ์การพิจารณามรดกโลกทางวัฒนธรรม
– เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
– เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
– เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
– เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
– เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา
– มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
หลักเกณฑ์การพิจารณามรดกโลกทางธรรมชาติ
– เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
– เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
– เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
– เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย |