องค์การบริหารส่วนตำบลโชกเหนือ อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์  เต็มที่เต็มใจ รับใช้ประชาชน.........  

 
เข้าดูหน้านี้ 44


มารู้จัก..โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ 2012 (MERS-CoV)
 MERS-CoV  คืออะไร?

         MERS-CoV  ย่อมาจาก  Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus เป็นโรคติดเชื้อชนิดรุนแรงที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรน่าซึ่งเป็นไวรัสกลุ่มเดียวกับที่ก่อโรคซาร์ส  แต่คนละสายพันธุ์เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคทางระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง  โดยพบการติดเชื้อนี้เป็นครั้งแรกที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย  เมื่อปี ค.ศ. 2012 

ระบาดวิทยา

        ปัจจุบันพบว่ามีผู้ติดเชื้อ ไวรัสโคโรน่า  สายพันธุ์ใหม่ 2012 แล้วจำนวน 496 ราย  เสียชีวิตแล้ว 93 ราย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม ผู้ที่เดินทางไปแสวงบุญและบุคลากรทางการแพทย์ใน 17 ประเทศโดยเฉพาะประเทศในแถบตะวันออกกลาง  เช่น จอร์แดน ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์  เป็นต้น  (ข้อมูลเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)  โดยยังไม่พบผู้ติดเชื้อนี้ในประเทศไทยแต่ก็พบว่ามีความเสี่ยง  เนื่องจากมีผู้แสวงบุญชาวไทยเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ในประเทศแถบตะวันออกกลาง และมีนักท่องเที่ยวแถบตะวันออกกลางเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย ทำให้อาจเกิดการแพร่กระจายของเชื้อได้ ดังนั้นจึงต้องมีการติดตามและเฝ้าระวังต่อไป 

แนวทางการเฝ้าระวัง  

        สำนักงานระบาดวิทยาได้จัดทำแนวทางการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อ ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012  ในประเทศไทย  โดยกลุ่มผู้ป่วยที่จะต้องทำการเฝ้าระวัง  ได้แก่

1.    ผู้ป่วยปอดบวมรุนแรง หรือมีภาวะระบบทางเดินหายใจล้มเหลว

   เฉียบพลันที่ไม่ทราบเชื้อที่เป็นสาเหตุ

2.   ผู้ป่วยปอดบวมที่มีภาวะเสี่ยงต่าง ๆ  ดังนี้

·         อาศัยหรือเดินทางจากประเทศแถบตะวันออกกลางในช่วง14วัน

    ก่อนป่วย

·         เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยปอดบวมในช่วง 14วัน

    ก่อนป่วย

·         สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เข้าข่าย หรือ ผู้ป่วย ในช่วง 14 วันก่อนหรือ

    หลังป่วย

·         ผู้ป่วยปอดบวมที่เกิดเป็นกลุ่มก้อน  คือ พบผู้ป่วยตั้งแต่ 2 ราย

    ขึ้นไป  ที่เวลาเริ่มป่วยห่างกันไม่เกิน 14 วัน  ในชุมชนเดียวกัน

3.   ผู้ที่ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เข้าข่าย   หรือ ผู้ป่วยในช่วง  14  วัน  ก่อนหรือหลังป่วย

 

การติดต่อ

       ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าเชื้อไวรัสนี้จะแพร่กระจายหรือติดต่อกันได้อย่างไร  แต่ก็พบว่ามีการติดต่อระหว่างคนได้  โดยมักจะพบได้ในวงจำกัด  คือ  ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และญาติที่ดูแลผู้ป่วย 

อาการสำคัญ

        โดยทั่วไปจะมีอาการทางระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน ไข้ ไอ อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ แต่ในรายที่รุนแรงอาจมีอาการหอบ หายใจลำบาก ระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันได้  โดยพบว่ามากกว่าร้อยละ 30 ของผู้ที่มีการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้จะมีอาการรุนแรงจนกระทั่งเสียชีวิต 

การรักษา

       ปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้ในการรักษาการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้โดยเฉพาะ  แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีไข้สูง ร่วมกับปอดบวมรุนแรง และ  ไม่ทราบว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดใด  อาจจะแนะนำให้ใช้ยา  ต้านไวรัส oseltamivir ในขนาดที่ใช้รักษาไข้หวัดใหญ่ได้ แต่โดยทั่วไป  จะแนะนำให้ใช้ยาที่ช่วยบรรเทาอาการเท่านั้น

คำแนะนำในการปฏิบัติตัว 

1.    ปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยที่ดี  ได้แก่  กินร้อน  ช้อนกลาง  ล้างมือ

   โดยควรล้างมือบ่อย ๆ  ด้วยสบู่และน้ำอย่างน้อย  20 วินาที หรือ 

   อาจใช้แอลกอฮอล์เจลแทนได้  โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร

   และหลังเข้าห้องน้ำ

2.   หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ที่มีอาการไอ จาม     

3.   ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในที่แออัด หากจำเป็นต้องเข้าไปในที่แออัด

   ควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

4.   แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยในกรณีที่มีอาการไอ จาม  เพื่อ 

   ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค

 



 
 
 
 
 
 
 
 


วัน พฤหัสบดี ที่ 31 ตุลาคม 2567

สาระดีๆจากศาลปกครอง
ภายนอก
ภายใน
การไม่รับของขวัญ_page-0001
banner-16977
banner-16974
banner-16972
banner-16971
banner-16970
banner-16969
banner-16967
webmail
banner-16965
LOGO

องค์การบริหารส่วนตำบลโชกเหนือ

LIVE CHAT ติดต่อเจ้าหน้าที่
เริ่มแชท